logo

นักศึกษาใหม่

บุคลากร/นักศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

นานาชาติ

บัณฑิตวิทยาลัย

Graduate School

Courses

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศและการพัฒนา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Information Technology : English Program

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Communication Arts : English Program

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Business Administration : English Program

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

      เทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของโลกธุรกิจและการพัฒนาองค์กร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศถูกออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ในหลักสูตรนี้คุณจะได้เรียนรู้รายวิชาที่สำคัญ เช่น เครือข่ายดิจิทัล ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับสูง การวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองข้อมูลธุรกิจ ซึ่งเน้นการใช้เทคนิคและเครื่องมือที่ทันสมัยในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ การออกแบบและเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่จะเพิ่มทักษะในการพัฒนาแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ และวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง ที่จะช่วยให้คุณสามารถดำเนินงานวิจัยอย่างมืออาชีพและมีคุณภาพ หลักสูตรนี้จะเปิดโอกาสให้คุณได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคตด้วยความมั่นใจและความรู้ที่ลึกซึ้ง
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
2. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
3. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
4. แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จปริญญาโท (เน้นการทำดุษฎีนิพนธ์) นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองคุณวุฒิ มีผลการเรียนในระดับปริญญาโทคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.5 จากระบบคะแนนเต็ม 4.0 และจบด้วยการทำดุษฎีนิพนธ์หรือมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ทำให้เชื่อได้ว่ามีศักยภาพสูงสามารถดำเนินการวิจัยได้ หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษาและต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานพร้อมกับทดลองการทำวิจัยจนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ
5. แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์) นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ/หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองคุณวุฒิ มีผลการเรียนระดับปริญญาโทคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.0 จากระบบคะแนนเต็ม 4.0 หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา และต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานพร้อมกับทดลองการทำวิจัยจนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ
6. แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์) นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ/หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองคุณวุฒิ มีผลการเรียนระดับปริญญาตรีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.0 จากระบบคะแนนเต็ม 4.0 หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา และต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานพร้อมกับทดลองการทำวิจัยจนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ

ระบบการจัดการศึกษา
1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ กรณีเกิดโรคระบาดหรือความเสี่ยงอื่น ๆ อาจเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอบแบบออนไลน์ทางไกลผ่านการสื่อสารด้วยอินเทอร์เน็ต ไม่มากกว่าร้อยละ 35 ของรายวิชาจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร เพื่ออำนวยความปลอดภัยต่อสุขภาพ ผู้เรียนและผู้สอนในการเรียนการสอนสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนได้เป็นปกติ
2. อาจมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
3. ระยะเวลาการศึกษา
3.1 แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 3 ปี
3.2 แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี
4. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 - 16.00 น. หรือ
วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 18.00 - 20.00 น. หรือ
วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
Email: grad@rsu.ac.th
Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

Enrollment Fee

1

Course Duration

3 ปี

Tuition Fee

450,000



Scholarships

    Careers

    • นักวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • นักวิชาการเทคโนโลยีดิจิทัล
    • ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
    • ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • ผู้จัดการโครงการสารสนเทศและการสื่อสาร
    • ผู้จัดการและบริหารแอปพลิเคชัน
    • ผู้จัดการและบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง
    • นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • นักวิจัยในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • อาจารย์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันศึกษา

    Compare courses

    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

          เทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของโลกธุรกิจและการพัฒนาองค์กร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศถูกออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ในหลักสูตรนี้คุณจะได้เรียนรู้รายวิชาที่สำคัญ เช่น เครือข่ายดิจิทัล ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับสูง การวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองข้อมูลธุรกิจ ซึ่งเน้นการใช้เทคนิคและเครื่องมือที่ทันสมัยในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ การออกแบบและเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่จะเพิ่มทักษะในการพัฒนาแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ และวิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูง ที่จะช่วยให้คุณสามารถดำเนินงานวิจัยอย่างมืออาชีพและมีคุณภาพ หลักสูตรนี้จะเปิดโอกาสให้คุณได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคตด้วยความมั่นใจและความรู้ที่ลึกซึ้ง
    คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    1. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
    2. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
    3. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
    4. แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จปริญญาโท (เน้นการทำดุษฎีนิพนธ์) นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองคุณวุฒิ มีผลการเรียนในระดับปริญญาโทคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.5 จากระบบคะแนนเต็ม 4.0 และจบด้วยการทำดุษฎีนิพนธ์หรือมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ทำให้เชื่อได้ว่ามีศักยภาพสูงสามารถดำเนินการวิจัยได้ หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษาและต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานพร้อมกับทดลองการทำวิจัยจนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ
    5. แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์) นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ/หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองคุณวุฒิ มีผลการเรียนระดับปริญญาโทคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.0 จากระบบคะแนนเต็ม 4.0 หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา และต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานพร้อมกับทดลองการทำวิจัยจนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ
    6. แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์) นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ สาขาอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ/หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองคุณวุฒิ มีผลการเรียนระดับปริญญาตรีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.0 จากระบบคะแนนเต็ม 4.0 หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา และต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานพร้อมกับทดลองการทำวิจัยจนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ

    ระบบการจัดการศึกษา
    1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ กรณีเกิดโรคระบาดหรือความเสี่ยงอื่น ๆ อาจเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอบแบบออนไลน์ทางไกลผ่านการสื่อสารด้วยอินเทอร์เน็ต ไม่มากกว่าร้อยละ 35 ของรายวิชาจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร เพื่ออำนวยความปลอดภัยต่อสุขภาพ ผู้เรียนและผู้สอนในการเรียนการสอนสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนได้เป็นปกติ
    2. อาจมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
    3. ระยะเวลาการศึกษา
    3.1 แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 3 ปี
    3.2 แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี
    4. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
    วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
    วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 - 16.00 น. หรือ
    วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 18.00 - 20.00 น. หรือ
    วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
    อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
    โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
    Email: grad@rsu.ac.th
    Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

    Enrollment Fee

    1

    Course Duration

    4 ปี

    Tuition Fee

    600,000



    Scholarships

      Careers

      • นักวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      • นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      • นักวิชาการเทคโนโลยีดิจิทัล
      • ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
      • ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • ผู้จัดการโครงการสารสนเทศและการสื่อสาร
      • ผู้จัดการและบริหารแอปพลิเคชัน
      • ผู้จัดการและบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง
      • นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      • นักวิจัยในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      • อาจารย์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถาบันศึกษา

      Compare courses

      หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม

      หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม

      หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม

            ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารและการตลาดอย่างรวดเร็ว หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคมมอบความรู้และทักษะที่ล้ำหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในวงการนี้ โดยหลักสูตรนี้ประกอบด้วยวิชาหลักที่สำคัญ เช่น การตลาดออนไลน์ ที่ช่วยให้คุณเข้าใจกลยุทธ์การโปรโมตและเพิ่มมูลค่าแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัล สัมมนาการวิจัยด้านเทคโนโลยีสื่อสังคมขั้นสูง ที่จะเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ และเทคนิคการวิจัยที่ทันสมัย การวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างมโนภาพข้อมูลในทางธุรกิจ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถตีความข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น การเรียนรู้ในหลักสูตรนี้จะทำให้คุณเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในโลกของสื่อสังคมและสามารถผลักดันนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
      1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่ มหาวิทยาลัยกำหนด
      2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
      3. ไม่เป็นคนวิกลจริตและไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
      4. ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องเลือกแผนการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรแบบ 1.1 หรือ แบบ 2.1 อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผู้สมัครที่เลือกศึกษาแบบ 1.1 ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านเทคโนโลยีสื่อสังคมในแผนการเรียนที่มีการทำวิทยานิพนธ์หรือมีผลงานวิจัยมาแสดงหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
      5. มีผู้รับรองซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในเอกสารการสมัคร
      6. คุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

      ระบบการจัดการศึกษา
      1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
      2. ระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี
      3. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
      วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
      วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
      สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
      บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
      อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
      โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
      Email: grad@rsu.ac.th
      Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

      Enrollment Fee

      1

      Course Duration

      3 ปี

      Tuition Fee

      420,000



      Scholarships

        Careers

        • ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสื่อสังคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
        • นักวิจัยด้านเทคโนโลยีสื่อสังคมของหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
        • บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
        • ผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีสื่อสังคม

        Compare courses

        หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์

        หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์

        หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์

              การสื่อสารและนิเทศศาสตร์เป็นหัวใจสำคัญของการเชื่อมโยงผู้คนและข้อมูล หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เน้นสร้างนักวิชาการและนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการสื่อสารที่ซับซ้อนและหลากหลาย หลักสูตรนี้ครอบคลุมวิชาหลักที่สำคัญ เช่น การวิเคราะห์การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ที่ช่วยให้คุณพัฒนาความสามารถในการวางแผนและจัดการกลยุทธ์การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยการสื่อสารระดับสูง ซึ่งจะทำให้คุณสามารถดำเนินการวิจัยที่มีคุณภาพและเผยแพร่ผลการศึกษาได้อย่างครอบคลุม และการศึกษาเรื่องราวและสื่อสารในยุคดิจิทัล ที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้เครื่องมือและเทคนิคที่ทันสมัยในการจัดการสื่อสารในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาหลักสูตรนี้จะเปิดโอกาสให้คุณเป็นผู้นำในวงการนิเทศศาสตร์ที่สามารถตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในโลกการสื่อสารได้อย่างทันสมัย
        คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
        1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดีมากหรือปริญญาโท และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
        2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
        3. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
        4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
        5. ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องเลือกแผนการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรแบบ 1.1 หรือ แบบ 2.1 อย่างใด อย่างหนึ่ง โดยผู้สมัครที่เลือกศึกษาแบบ 1.1 ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านนิเทศศาสตร์ในแผนการเรียนที่มีการทำวิทยานิพนธ์ หรือมีผลงานวิจัยมาแสดง และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
        6. มีผู้รับรองซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในเอกสารการสมัคร
        7. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

        ระบบการจัดการศึกษา
        1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
        2. อาจมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของผู้อำนวยการสาขาวิชา
        3. ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี
        4. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในการเรียนการสอน
        วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
        วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
        สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
        บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
        อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
        โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
        Email: grad@rsu.ac.th
        Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

        Enrollment Fee

        1

        Course Duration

        3 ปี

        Tuition Fee

        450,000



        Scholarships

          Careers

          • อาจารย์มหาวิทยาลัย
          • นักวิจัย
          • นักวิชาการ

          Compare courses

          หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

          หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

          หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                 ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อทุกภาคส่วน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมให้คุณเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และความสามารถในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ หลักสูตรนี้ประกอบด้วยวิชาสำคัญ เช่น ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย ที่จะทำให้คุณเข้าใจและวิเคราะห์โครงสร้างและกระบวนการทางสังคมในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเปิดโอกาสให้คุณเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกและระดับท้องถิ่น และทฤษฎีภาวะผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองร่วมสมัย ที่ช่วยให้คุณสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้จะเตรียมคุณให้พร้อมสำหรับการเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และความเชี่ยวชาญ
          คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
          1. นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
          2. มีความสามารถและมีศักยภาพสูงในการทำวิจัย
          3. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
          4. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
          5. ความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
          6. คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรให้เข้ารับศึกษา

          ระบบการจัดการศึกษา
          1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
          2. แบบ 1.1 และแบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี และ
          แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี
          3. ใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอน
          วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
          วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
          บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
          อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
          โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
          Email: grad@rsu.ac.th
          Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

          Enrollment Fee

          1

          Course Duration

          3 ปี

          Tuition Fee

          475,000



          Scholarships

            Careers

            • ผู้ประกอบการในบริษัท ผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนต่างๆ
            • ผู้บริหารในองค์การสาธารณะอื่นๆ ได้แก่ มูลนิธิ สถาบัน รวมถึงองค์การที่ไม่มุ่งหวังกำไร
            • ข้าราชการในระดับบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารที่อยู่ในระดับ กระทรวง กรม จังหวัด และท้องถิ่น รวมถึง ทหาร/ตำรวจ ระดับสัญญาบัตร
            • บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชน
            • นักวิชาการอิสระที่สนใจในองค์ความรู้ด้านผู้นำและนวัตกรรมสังคม
            • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักการเมืองในทุกระดับ

            Compare courses

            หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

            หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

            หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                   ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อทุกภาคส่วน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมให้คุณเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และความสามารถในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ หลักสูตรนี้ประกอบด้วยวิชาสำคัญ เช่น ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย ที่จะทำให้คุณเข้าใจและวิเคราะห์โครงสร้างและกระบวนการทางสังคมในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเปิดโอกาสให้คุณเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกและระดับท้องถิ่น และทฤษฎีภาวะผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองร่วมสมัย ที่ช่วยให้คุณสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้จะเตรียมคุณให้พร้อมสำหรับการเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และความเชี่ยวชาญ
            คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
            1. นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
            2. มีความสามารถและมีศักยภาพสูงในการทำวิจัย
            3. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
            4. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
            5. ความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
            6. คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรให้เข้ารับศึกษา

            ระบบการจัดการศึกษา
            1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
            2. แบบ 1.1 และแบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี และ
            แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี
            3. ใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอน
            วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
            วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
            สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
            บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
            อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
            โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
            Email: grad@rsu.ac.th
            Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

            Enrollment Fee

            1

            Course Duration

            3 ปี

            Tuition Fee

            760,000



            Scholarships

              Careers

              • ผู้ประกอบการในบริษัท ผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนต่างๆ
              • ผู้บริหารในองค์การสาธารณะอื่นๆ ได้แก่ มูลนิธิ สถาบัน รวมถึงองค์การที่ไม่มุ่งหวังกำไร
              • ข้าราชการในระดับบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารที่อยู่ในระดับ กระทรวง กรม จังหวัด และท้องถิ่น รวมถึง ทหาร/ตำรวจ ระดับสัญญาบัตร
              • บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชน
              • นักวิชาการอิสระที่สนใจในองค์ความรู้ด้านผู้นำและนวัตกรรมสังคม
              • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักการเมืองในทุกระดับ

              Compare courses

              หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

              หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

              หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

                     รัฐประศาสนศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและบริหารจัดการองค์กรภาครัฐเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความโปร่งใส หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบด้วยวิชาสำคัญ ได้แก่ แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ ที่เน้นการศึกษาแนวคิดพื้นฐานและทฤษฎีสำคัญ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านการสัมมนาที่หลากหลาย เช่น สัมมนาการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ สัมมนาการบริหารการคลังภาครัฐ สัมมนานโยบายสาธารณะ และสัมมนาองค์การและการจัดการภาครัฐ ที่จะเสริมสร้างความรู้ด้านการจัดการองค์กรภาครัฐ หลักสูตรนี้จะทำให้คุณเป็นนักวิชาการและผู้นำที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างลึกซึ้ง สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการภาครัฐและนโยบายสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
              1. รูปแบบการเรียน 1.1
              1.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
              1.2 ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
              1.3 ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
              1.4 มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
              1.5 มีบทความวิจัยที่เผยแพร่ในระดับชาติ หรือ นานาชาติ (ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์) อย่างน้อย 1 เรื่อง
              2. รูปแบบการเรียน 2.1
              2.1 สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
              2.2 ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
              2.3 ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ

              ระบบการจัดการศึกษา
              1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
              2. อาจมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของผู้อำนวยการหลักสูตร
              3. ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี
              4. ใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอน เอกสารประกอบการสอนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย
              วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
              วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 18.00 – 20.00 น.
              วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
              สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
              บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
              อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
              โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
              Email: grad@rsu.ac.th
              Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

              Enrollment Fee

              1

              Course Duration

              3 ปี

              Tuition Fee

              455,000



              Scholarships

                Careers

                • บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน
                • ข้าราชการ / พนักงานของรัฐ / บุคลากรภาครัฐ ทุกระดับบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารที่อยู่ในระดับ กระทรวง กรม จังหวัด ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รวมถึง ทหาร/ตำรวจ
                • ผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนต่างๆ
                • ผู้บริหารในองค์การสาธารณะอื่นๆ ได้แก่ มูลนิธิ สถาบัน รวมถึงองค์การที่ไม่มุ่งหวังกำไร
                • นักวิชาการอิสระ

                Compare courses

                หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                       หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ลึกซึ้งในด้านการวิเคราะห์และการบูรณาการงานยุติธรรม โดยมีรายวิชาหลักที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอย่างรอบด้าน ได้แก่ การวิเคราะห์และการบูรณาการงานยุติธรรม วิธีวิทยาการวิจัยทางอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม และนิติวิทยาศาสตร์ในงานยุติธรรม เพื่อสร้างผู้นำที่สามารถจัดการและพัฒนาระบบยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาในระดับสูงนี้จะเพิ่มทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง พร้อมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อการปรับปรุงระบบยุติธรรมในอนาคต เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการงานยุติธรรมและอาชญาวิทยาทั้งในภาครัฐและเอกชน
                คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                1. รูปแบบการเรียน 1.1
                1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนขั้นปริญญาโท และสำเร็จการศึกษาด้วยการทำวิทยานิพนธ์ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีศักยภาพสูงในการทำงานวิจัย หรือคณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม
                3. มีประสบการณ์การทำงานในกระบวนการยุติธรรมหรือที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
                4. ต้องมีบทความวิจัยที่เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ (ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์) อย่างน้อย 1 เรื่อง
                5. ต้องมีการนำเสนอโครงร่างงานดุษฎีนิพนธ์

                2. รูปแบบการเรียน 2.1
                1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม

                3. รูปแบบการเรียน 2.2
                1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดีมาก และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม
                หมายเหตุ: ผู้ที่มีเงื่อนไขไม่เป็นไปตามที่กำหนด ให้คณะกรรมการของหลักสูตรเป็นผู้พิจารณา

                ระบบการจัดการศึกษา
                1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                2. แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี
                แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี
                3. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
                สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                Email: grad@rsu.ac.th
                Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                Enrollment Fee

                1

                Course Duration

                3 ปี

                Tuition Fee

                450,000



                Scholarships

                  Careers

                  • นักอาชญาวิทยา เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม นักวิชาการด้านอาชญาวิทยาและการบริหารงาน ยุติธรรม และสามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ (เช่น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม)
                  • บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ในสายงานด้านอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ใน มหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สาขาอาชญาวิทยาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม สาขาวิชาสังคมวิทยา (อาชญาวิทยา) หลักสูตรปริญญาโทสาขาการบริหารงานยุติธรรม สาขารัฐศาสตร์ หมวด บริหารงานยุติธรรม คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาเอกบริหารงานยุติธรรม และหลักสูตรศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น
                  • นักวิชาการอิสระด้านอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

                  Compare courses

                  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                         หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ลึกซึ้งในด้านการวิเคราะห์และการบูรณาการงานยุติธรรม โดยมีรายวิชาหลักที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอย่างรอบด้าน ได้แก่ การวิเคราะห์และการบูรณาการงานยุติธรรม วิธีวิทยาการวิจัยทางอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม และนิติวิทยาศาสตร์ในงานยุติธรรม เพื่อสร้างผู้นำที่สามารถจัดการและพัฒนาระบบยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาในระดับสูงนี้จะเพิ่มทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง พร้อมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อการปรับปรุงระบบยุติธรรมในอนาคต เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการงานยุติธรรมและอาชญาวิทยา ทั้งในภาครัฐและเอกชน
                  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                  1. รูปแบบการเรียน 1.1
                  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนขั้นปริญญาโท และสำเร็จการศึกษาด้วยการทำวิทยานิพนธ์ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีศักยภาพสูงในการทำงานวิจัย หรือคณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                  2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม
                  3. มีประสบการณ์การทำงานในกระบวนการยุติธรรมหรือที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
                  4. ต้องมีบทความวิจัยที่เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ (ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์) อย่างน้อย 1 เรื่อง
                  5. ต้องมีการนำเสนอโครงร่างงานดุษฎีนิพนธ์

                  2. รูปแบบการเรียน 2.1
                  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                  2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม

                  3. รูปแบบการเรียน 2.2
                  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดีมาก และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                  2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงหรือประพฤติผิดศีลธรรม
                  หมายเหตุ: ผู้ที่มีเงื่อนไขไม่เป็นไปตามที่กำหนด ให้คณะกรรมการของหลักสูตรเป็นผู้พิจารณา

                  ระบบการจัดการศึกษา
                  1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                  2. แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี
                  แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี
                  3. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                  วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                  วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
                  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                  อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                  โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                  Email: grad@rsu.ac.th
                  Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                  Enrollment Fee

                  1

                  Course Duration

                  4 ปี

                  Tuition Fee

                  600,000



                  Scholarships

                    Careers

                    • นักอาชญาวิทยา เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม นักวิชาการด้านอาชญาวิทยาและการบริหารงาน ยุติธรรม และสามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ (เช่น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม)
                    • บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ในสายงานด้านอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ใน มหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สาขาอาชญาวิทยาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม สาขาวิชาสังคมวิทยา (อาชญาวิทยา) หลักสูตรปริญญาโทสาขาการบริหารงานยุติธรรม สาขารัฐศาสตร์ หมวด บริหารงานยุติธรรม คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาเอกบริหารงานยุติธรรม และหลักสูตรศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น
                    • นักวิชาการอิสระด้านอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม

                    Compare courses

                    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                            เภสัชศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนายาและการรักษาโรคซึ่งมีความสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ออกแบบมาเพื่อให้คุณได้รับความรู้ลึกซึ้งและทักษะที่จำเป็นในการเป็นนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ โดยหลักสูตรนี้มีกลุ่มวิชาให้ศึกษาหลากหลายด้าน ได้แก่ เภสัชกรรมและเครื่องสำอาง เภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เภสัชวิทยา เภสัชกรรมคลินิก และเภสัชกรรมชุมชน ซึ่งความรู้และทักษะที่ได้รับจากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพ
                    คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                    1. แบบ 1.2 และ 2.2
                    1.1 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง ในหลักสูตรปริญญาตรีเภสัชศาสตรบัณฑิตหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ด้วยผลการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือมีคุณสมบัติอื่น ตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยเภสัชศาสตร์เห็นสมควร
                    1.2 ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีที่โทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
                    1.3 ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                    1.4 ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
                    1.5 มีคะแนนสอบความรู้ภาษาอังกฤษเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยรังสิตเรื่องเกณฑ์คะแนน สอบความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต พ.ศ. 2562
                    2. แบบ 1.1 และ 2.1
                    2.1 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง ในหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือมีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยเภสัชศาสตร์เห็นสมควร
                    2.2 ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีที่โทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
                    2.3 ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                    2.4 ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
                    2.5 มีคะแนนสอบความรู้ภาษาอังกฤษเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยรังสิตเรื่องเกณฑ์คะแนน สอบความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต พ.ศ. 2562

                    ระบบการจัดการศึกษา
                    1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                    2. ระยะเวลาการศึกษา
                    หลักสูตรระดับปริญญาเอก 3 ปี (หลักสูตรแบบ 1.1 และ 2.1)
                    หลักสูตรระดับปริญญาเอก 5 ปี (หลักสูตรแบบ 1.2 และ 2.2)
                    3. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                    วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                    วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
                    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                    อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                    โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                    Email: grad@rsu.ac.th
                    Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                    Enrollment Fee

                    1

                    Course Duration

                    3 ปี

                    Tuition Fee

                    492,000



                    Scholarships

                      Careers

                      • นักวิจัยหรือนักวิชาการด้านต่าง ๆ ทางเภสัชศาสตร์ทั้งในภาครัฐและเอกชน
                      • ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ที่ปรึกษาด้านวิชาการหรือด้านการวิจัยทางเภสัชศาสตร์
                      • อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในภาครัฐและเอกชน

                      Compare courses

                      หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                      หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                      หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                              เภสัชศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนายาและการรักษาโรคซึ่งมีความสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ออกแบบมาเพื่อให้คุณได้รับความรู้ลึกซึ้งและทักษะที่จำเป็นในการเป็นนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ โดยหลักสูตรนี้มีกลุ่มวิชาให้ศึกษาหลากหลายด้าน ได้แก่ เภสัชกรรมและเครื่องสำอาง เภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เภสัชวิทยา เภสัชกรรมคลินิก และเภสัชกรรมชุมชน ซึ่งความรู้และทักษะที่ได้รับจากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพ
                      คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                      1. แบบ 1.2 และ 2.2
                      1.1 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง ในหลักสูตรปริญญาตรีเภสัชศาสตรบัณฑิตหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ด้วยผลการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือมีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยเภสัชศาสตร์เห็นสมควร
                      1.2 ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีที่โทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
                      1.3 ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                      1.4 ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
                      1.5 มีคะแนนสอบความรู้ภาษาอังกฤษเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยรังสิตเรื่องเกณฑ์คะแนน สอบความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต พ.ศ. 2562
                      2. แบบ 1.1 และ 2.1
                      2.1 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง ในหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือมีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยเภสัชศาสตร์เห็นสมควร
                      2.2 ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีที่โทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
                      2.3 ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                      2.4 ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
                      2.5 มีคะแนนสอบความรู้ภาษาอังกฤษเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยรังสิตเรื่องเกณฑ์คะแนน สอบความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต พ.ศ. 2562

                      ระบบการจัดการศึกษา
                      1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                      2. ระยะเวลาการศึกษา
                      หลักสูตรระดับปริญญาเอก 3 ปี (หลักสูตรแบบ 1.1 และ 2.1)
                      หลักสูตรระดับปริญญาเอก 5 ปี (หลักสูตรแบบ 1.2 และ 2.2)
                      3. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                      วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                      วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
                      สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                      บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                      อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                      โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                      Email: grad@rsu.ac.th
                      Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                      Enrollment Fee

                      1

                      Course Duration

                      3 ปี

                      Tuition Fee

                      656,000



                      Scholarships

                        Careers

                        • นักวิจัยหรือนักวิชาการด้านต่าง ๆ ทางเภสัชศาสตร์ทั้งในภาครัฐและเอกชน
                        • ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ที่ปรึกษาด้านวิชาการหรือด้านการวิจัยทางเภสัชศาสตร์
                        • อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในภาครัฐและเอกชน

                        Compare courses

                        หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศและการพัฒนา

                        หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศและการพัฒนา

                        หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศและการพัฒนา

                                เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศเป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการเมืองในระดับสากล ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม หลักสูตรนี้เน้นสร้างความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ที่จำเป็นในการจัดการกับปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมือง คุณจะได้รับการเตรียมความพร้อมในการทำวิจัยเชิงลึกและการเสนอแนะนโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้คุณก้าวสู่บทบาทสำคัญในด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเมือง
                        คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                        1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง ต้องมีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ ส่วนผู้จบการศึกษาระดับปริญญาโทที่เคยทำวิทยานิพนธ์มาแล้วไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์การทำงานมาก่อนก็ได้ ทั้งนี้ให้เป็นดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตร
                        2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                        3. ไม่เป็นคนวิกลจริต
                        4. เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต ของ มหาวิทยาลัยรังสิต

                        ระบบการจัดการศึกษา
                        1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                        2. อาจมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของผู้อำนวยการสาขาวิชา
                        3. ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี
                        4. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในการเรียนการสอน
                        วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                        วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. หรือ
                        วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 17.00 - 21.00 น. หรือ
                        วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
                        สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                        บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                        อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                        โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                        Email: grad@rsu.ac.th
                        Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                        Enrollment Fee

                        1

                        Course Duration

                        3 ปี

                        Tuition Fee

                        450,000



                        Scholarships

                          Careers

                          • นักวิจัย ครู อาจารย์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์และการต่างประเทศ
                          • นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ การเมือง ธุรกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
                          • นักการเมือง ข้าราชการ พนักงานของรัฐ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง อุตสาหกรรม เป็นต้น
                          • นักวางแผนงานและกำหนดนโยบายขององค์กร
                          • เจ้าของกิจการ อาชีพอิสระ
                          • ที่ปรึกษาด้านนโยบายการเงินการธนาคาร ธุรกิจและการเมือง
                          • ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ อาทิเช่น องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย บริษัทข้ามชาติ และองค์กรไม่แสวงหากำไรระหว่างประเทศ เป็นต้น

                          Compare courses

                          หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล

                          หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล

                          หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล

                                  เศรษฐกิจดิจิทัลกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจและสร้างมูลค่าอย่างรวดเร็ว หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล จะช่วยให้คุณเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ มีความเข้าใจในตลาดดิจิทัลสามารถสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ยืดหยุ่น และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการในโลกยุคใหม่
                          คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                          1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                          2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                          3. ไม่เป็นคนวิกลจริตและไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
                          4. ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องเลือกแผนการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรแบบ 1.1 หรือ แบบ 2.1 อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผู้สมัครที่เลือกศึกษาแบบ 1.1 ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน ในแผนการเรียนที่มีการทำวิทยานิพนธ์หรือผลงานวิจัยมาแสดงหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
                          5. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย

                          ระบบการจัดการศึกษา
                          1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                          2. ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี
                          3. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                          วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                          วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. หรือ
                          วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 17.00 - 21.00 น. หรือ
                          วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
                          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                          บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                          อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                          โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                          Email: grad@rsu.ac.th
                          Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                          Enrollment Fee

                          1

                          Course Duration

                          3 ปี

                          Tuition Fee

                          450,000



                          Scholarships

                            Careers

                            • นักวิจัย ครู อาจารย์ นักวิชาการ
                            • นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน
                            • นักการเมือง ข้าราชการ พนักงานของรัฐ อาทิเช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์
                            • นักวางแผนงานและนโยบายองค์กร
                            • เจ้าของกิจการ อาชีพอิสระ
                            • ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ อาทิเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ

                            Compare courses

                            หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                            หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                            หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                                    หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธามุ่งมั่นที่จะพัฒนานักวิจัยและวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมโยธาระดับสูง หลักสูตรนี้ครอบคลุมทั้งความรู้เชิงทฤษฎีและการประยุกต์ใช้งานจริง เริ่มต้นด้วยการสัมมนาในหัวข้อวิศวกรรมโยธา เพื่อการศึกษาและอภิปรายเกี่ยวกับความก้าวหน้าและแนวโน้มล่าสุด ตามด้วยเนื้อหาขั้นสูงที่เน้นการวิเคราะห์และวิจัยที่ลึกซึ้ง โดยยังมีวิชาเลือกจาก 6 กลุ่มหลัก อันได้แก่ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมโครงสร้างและกลศาสตร์ การบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมปฐพี และวิศวกรรมขนส่ง ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเจาะลึกและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามความสนใจ
                            คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                            1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดีมาก หรือปริญญาโท และมีผลการสอบ ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                            2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                            3. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ

                            ระบบการจัดการศึกษา
                            1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                            2. มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของผู้อำนวยการหลักสูตร
                            3. ระยะเวลาการศึกษา
                            แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
                            แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
                            4. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                            วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                            วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 18.00 – 20.00 น.
                            วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
                            สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                            บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                            อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                            โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                            Email: grad@rsu.ac.th
                            Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                            Enrollment Fee

                            1

                            Course Duration

                            6 ปี

                            Tuition Fee

                            240,000



                            Scholarships

                              Careers

                              • ผู้จัดการโครงการทางวิศวกรรมโยธา
                              • อาจารย์หรือนักวิชาการทางด้านวิศวกรรมโยธา
                              • นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมโยธา
                              • ผู้ประสานงานของโครงการวิศวกรรมระดับชาติและนานาชาติ

                              Compare courses

                              หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                              หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                              หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                                      หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธามุ่งมั่นที่จะพัฒนานักวิจัยและวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมโยธาระดับสูง หลักสูตรนี้ครอบคลุมทั้งความรู้เชิงทฤษฎีและการประยุกต์ใช้งานจริง เริ่มต้นด้วยการสัมมนาในหัวข้อวิศวกรรมโยธา เพื่อการศึกษาและอภิปรายเกี่ยวกับความก้าวหน้าและแนวโน้มล่าสุด ตามด้วยเนื้อหาขั้นสูงที่เน้นการวิเคราะห์และวิจัยที่ลึกซึ้ง โดยยังมีวิชาเลือกจาก 6 กลุ่มหลัก อันได้แก่ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมโครงสร้างและกลศาสตร์ การบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมปฐพี และวิศวกรรมขนส่ง ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเจาะลึกและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามความสนใจ
                              คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                              1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่มีผลการเรียนดีมาก หรือปริญญาโท และมีผลการสอบ ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                              2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                              3. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ

                              ระบบการจัดการศึกษา
                              1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                              2. มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของผู้อำนวยการหลักสูตร
                              3. ระยะเวลาการศึกษา
                              แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
                              แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
                              4. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                              วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                              วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 18.00 – 20.00 น.
                              วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
                              สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                              บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                              อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                              โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                              Email: grad@rsu.ac.th
                              Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                              Enrollment Fee

                              1

                              Course Duration

                              8 ปี

                              Tuition Fee

                              320,000



                              Scholarships

                                Careers

                                • ผู้จัดการโครงการทางวิศวกรรมโยธา
                                • อาจารย์หรือนักวิชาการทางด้านวิศวกรรมโยธา
                                • นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมโยธา
                                • ผู้ประสานงานของโครงการวิศวกรรมระดับชาติและนานาชาติ

                                Compare courses

                                หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                                หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                                หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (สำหรับผู้จบปริญญาโท)

                                         หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เน้นการศึกษาเชิงลึกที่ผสานความรู้ทางวิศวกรรมและการแพทย์เข้าด้วยกัน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายด้าน เช่น นาโนเทคโนโลยีชีวภาพทางวิศวกรรมชีวการแพทย์ อุปกรณ์ชีวการแพทย์สมัยใหม่ขั้นสูง และระบบการดูแลสุขภาพระยะไกล ร่วมสัมมนาทางวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการศึกษาความก้าวหน้าและทิศทางใหม่ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคุณในการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพ ก้าวสู่การเป็นผู้นำในอนาคตของวิศวกรรมชีวการแพทย์และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงการดูแลสุขภาพโลก
                                คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                                1. แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (เน้นการทำดุษฎีนิพนธ์)
                                นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนขั้นปริญญาโทคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.5 และจบด้วยการทำวิทยานิพนธ์ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีศักยภาพสูงในการทำงานวิจัย หรือคณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
                                2. แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
                                นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมสารสนเทศ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมพอลิเมอร์ อุปกรณ์ชีวการแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ชีวเคมี วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ เคมีประยุกต์ วัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอุปกรณ์การแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนขั้นปริญญาโทและจบด้วยการทำวิทยานิพนธ์ หรือในกรณีที่นักศึกษาจบปริญญาโทที่ไม่ตรงสาขา แต่คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษาจะต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานพร้อมกับทดลองการทำวิจัยจนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ
                                3. แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
                                นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดีมาก หรือมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีศักยภาพสูงในการทำงานวิจัย หรือในกรณีที่นักศึกษาจบปริญญาตรีที่ไม่ตรงสาขา แต่คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษาจะต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานพร้อมกับทดลองการทำวิจัยจนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ
                                4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                                5. มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรังสิตว่าด้วยมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559

                                ระบบการจัดการศึกษา
                                1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                                2. รูปแบบ
                                แบบ 1.1 หลักสูตรระดับปริญญาเอก มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท (เน้นการทำดุษฎีนิพนธ์)
                                แบบ 2.1 หลักสูตรระดับปริญญาเอก มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
                                แบบ 2.2 หลักสูตรระดับปริญญาเอก มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 8 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
                                3. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                                วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                                วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. หรือ
                                วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 17.00 - 21.00 น. หรือ
                                วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
                                สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                                บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                                อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                                โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                                Email: grad@rsu.ac.th
                                Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                                Enrollment Fee

                                1

                                Course Duration

                                6 ปี

                                Tuition Fee

                                420,000



                                Scholarships

                                  Careers

                                  • วิศวกรหรือระดับผู้ชำนาญการพิเศษประจำหน่วยงานที่ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุข
                                  • นักวิจัยด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ในหน่วยงานวิจัยต่างๆ เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
                                  • ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน
                                  • อาจารย์ผู้สอน และนักวิจัยในสถาบันการศึกษา
                                  • ผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข
                                  • นวัตกรในองค์กรด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของประเทศ
                                  • ผู้ดูแล ผู้จัดการ และผู้บริหารนวัตกรรมในบริษัทขนาดใหญ่หรือองค์กรที่มีศักยภาพทางด้านการวิจัยในด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

                                  Compare courses

                                  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                                  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                                  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (สำหรับผู้จบปริญญาตรี)

                                           หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เน้นการศึกษาเชิงลึกที่ผสานความรู้ทางวิศวกรรมและการแพทย์เข้าด้วยกัน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายด้าน เช่น นาโนเทคโนโลยีชีวภาพทางวิศวกรรมชีวการแพทย์ อุปกรณ์ชีวการแพทย์สมัยใหม่ขั้นสูง และระบบการดูแลสุขภาพระยะไกล ร่วมสัมมนาทางวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการศึกษาความก้าวหน้าและทิศทางใหม่ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคุณในการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพ ก้าวสู่การเป็นผู้นำในอนาคตของวิศวกรรมชีวการแพทย์และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงการดูแลสุขภาพโลก
                                  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                                  1. แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (เน้นการทำดุษฎีนิพนธ์)
                                  นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนขั้นปริญญาโทคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.5 และจบด้วยการทำวิทยานิพนธ์ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีศักยภาพสูงในการทำงานวิจัย หรือคณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
                                  2. แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
                                  นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมสารสนเทศ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมพอลิเมอร์ อุปกรณ์ชีวการแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ชีวเคมี วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ เคมีประยุกต์ วัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอุปกรณ์การแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนขั้นปริญญาโทและจบด้วยการทำวิทยานิพนธ์ หรือในกรณีที่นักศึกษาจบปริญญาโทที่ไม่ตรงสาขา แต่คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษาจะต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานพร้อมกับทดลองการทำวิจัยจนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ
                                  3. แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
                                  นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรอง จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง มีผลการเรียนขั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดีมาก หรือมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีศักยภาพสูงในการทำงานวิจัย หรือในกรณีที่นักศึกษาจบปริญญาตรีที่ไม่ตรงสาขา แต่คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรรับเข้าศึกษาจะต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานพร้อมกับทดลองการทำวิจัยจนเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ
                                  4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                                  5. มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยรังสิตว่าด้วยมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559

                                  ระบบการจัดการศึกษา
                                  1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                                  2. รูปแบบ
                                  แบบ 1.1 หลักสูตรระดับปริญญาเอก มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท (เน้นการทำดุษฎีนิพนธ์)
                                  แบบ 2.1 หลักสูตรระดับปริญญาเอก มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
                                  แบบ 2.2 หลักสูตรระดับปริญญาเอก มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 8 ปี สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
                                  3. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                                  วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                                  วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. หรือ
                                  วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 17.00 - 21.00 น. หรือ
                                  วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
                                  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                                  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                                  อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                                  โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                                  Email: grad@rsu.ac.th
                                  Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                                  Enrollment Fee

                                  1

                                  Course Duration

                                  6 ปี

                                  Tuition Fee

                                  560,000



                                  Scholarships

                                    Careers

                                    • วิศวกรหรือระดับผู้ชำนาญการพิเศษประจำหน่วยงานที่ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุข
                                    • นักวิจัยด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ในหน่วยงานวิจัยต่างๆ เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
                                    • ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน
                                    • อาจารย์ผู้สอน และนักวิจัยในสถาบันการศึกษา
                                    • ผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข
                                    • นวัตกรในองค์กรด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของประเทศ
                                    • ผู้ดูแล ผู้จัดการ และผู้บริหารนวัตกรรมในบริษัทขนาดใหญ่หรือองค์กรที่มีศักยภาพทางด้านการวิจัยในด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์

                                    Compare courses

                                    หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

                                    หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

                                    หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

                                             นิติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษากฎหมายและระบบการจัดการความยุติธรรมในสังคม การเรียนรู้ด้านนี้เปิดโอกาสให้คุณเข้าใจและวิเคราะห์กฎระเบียบที่ควบคุมการดำเนินชีวิตของบุคคลและองค์กร หลักสูตรนี้นำเสนอการศึกษาเชิงลึกสามารถวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ และมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายตลอดจนกระบวนการยุติธรรมในระดับโลก
                                    คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                                    1. สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง ไม่ต่ำกว่าปริญญาโทนิติศาสตรมหาบัณฑิต
                                    2. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีที่โทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
                                    3. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                                    4. ไม่เป็นคนวิกลจริต
                                    5. ผู้สมัครเข้าศึกษาจะต้องเลือกแผนการศึกษาตามโครงสร้างแบบ 1.1 โดยต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านนิติศาสตร์ในแผนการเรียนที่มีการทำวิทยานิพนธ์ หรือมีผลงานวิจัยมาแสดงและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
                                    6. มีผู้รับรองซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในเอกสารการสมัคร
                                    7. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
                                    8. มีผลสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด

                                    ระบบการจัดการศึกษา
                                    1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                                    2. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                                    วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                                    วันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 20.30 น.
                                    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                                    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                                    อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                                    โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                                    Email: grad@rsu.ac.th
                                    Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                                    Enrollment Fee

                                    1

                                    Course Duration

                                    3 ปี

                                    Tuition Fee

                                    450,000



                                    Scholarships

                                      Careers

                                      • นักวิชาการและนักวิจัยทางนิติศาสตร์
                                      • ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย
                                      • นักวิชาชีพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
                                      • นักวิเคราะห์และที่ปรึกษากฎหมาย
                                      • นักบริหารและผู้นำทางสังคม
                                      • นักการเมืองและนักนิติบัญญัติ
                                      • อาจารย์มหาวิทยาลัยระดับบัณฑิตศึกษา

                                      Compare courses

                                      หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา

                                      หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา

                                      หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา

                                                การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาบุคคลและสังคม หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา เจาะลึกทฤษฎีและปฏิบัติทางการศึกษาอย่างลึกซึ้งเรียนรู้ผ่านวิชาหลักเช่น ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอนยุคใหม่ รวมถึงการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญด้านการศึกษาของทั่วโลกและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรยังครอบคลุมวิชาภาวะผู้นำนโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารองค์กรทางการศึกษา การวัดและการประเมินผลการศึกษารวมถึงการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในระบบการศึกษา
                                      คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                                      1. ผู้สมัครสำเร็จการศึกษาปริญญาโท จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือสำนักงานข้าราชการพลเรือนรับรอง และมีคุณสมบัติอื่นตามเกณฑ์กำหนดของหลักสูตร ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยรังสิต ว่าด้วยมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563
                                      2. หลักสูตรแบบ 1.1 แบบทำดุษฎีนิพนธ์ ผู้สมัครสำเร็จการศึกษาปริญญาโททางการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ และผ่านการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทมาก่อนรวมทั้งมีประสบการณ์ในการทำการวิจัยและมีผลงานวิชาการหรือผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยไม่นับผลงานในการสำเร็จการศึกษา
                                      3. หลักสูตรแบบ 2.1 แบบศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์ คุณสมบัติของผู้สมัครคือ
                                      3.1 สำเร็จการศึกษาปริญญาโททางการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ และไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท หรือ
                                      3.2 สำเร็จการศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาอื่นๆ และมีความต้องการจะประกอบอาชีพทางการศึกษา
                                      4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                                      5. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                                      6. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ

                                      ระบบการจัดการศึกษา
                                      1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                                      2. ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี
                                      3. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                                      วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                                      วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น..
                                      สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                                      บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                                      อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                                      โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                                      Email: grad@rsu.ac.th
                                      Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                                      Enrollment Fee

                                      1

                                      Course Duration

                                      3 ปี

                                      Tuition Fee

                                      600,000



                                      Scholarships

                                        Careers

                                        • ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
                                        • นักวิจัยการศึกษา
                                        • นักวิชาการทางการศึกษา
                                        • ผู้บริหารงานวิชาการและวิจัยทางการศึกษา
                                        • ผู้บริหารการศึกษา
                                        • ศึกษานิเทศก์
                                        • ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา
                                        • ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาและการฝึกอบรม
                                        • อาชีพอิสระด้านการศึกษา
                                        • สาขางานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

                                        Compare courses

                                        หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต

                                        หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต

                                        หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต

                                                  การบริหารธุรกิจในยุคปัจจุบันไม่เพียงแค่เกี่ยวกับการตัดสินใจที่ดีและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ แต่ยังรวมถึงการวิเคราะห์เชิงลึกและการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะด้านการบริหารที่ล้ำสมัย พร้อมทั้งมอบความรู้ที่ลึกซึ้งในด้านกลยุทธ์และการจัดการที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจอย่างรวดเร็วให้คุณก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำที่มีความรู้ลึกและทักษะการบริหารที่โดดเด่น เตรียมพร้อมสำหรับการเป็นผู้เปลี่ยนเกมในอุตสาหกรรม
                                        คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                                        1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการเข้าราชการพลเรือนรับรอง และมีคุณสมบัติอื่นตามเกณฑ์กำหนดของหลักสูตร
                                        2. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีที่โทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
                                        3. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                                        4. ไม่เป็นคนวิกลจริต
                                        5. เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต

                                        ระบบการจัดการศึกษา
                                        1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ใน 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                                        2. ระยะเวลาการศึกษาแบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท ตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปี
                                        3. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                                        วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                                        วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 18.00 – 20.00 น.
                                        วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
                                        สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                                        บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                                        อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                                        โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                                        Email: grad@rsu.ac.th
                                        Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                                        Enrollment Fee

                                        1

                                        Course Duration

                                        6 ปี

                                        Tuition Fee

                                        585,000



                                        Scholarships

                                          Careers

                                          • ผู้บริหารธุรกิจ/นักบริหารธุรกิจ
                                          • หัวหน้า/ผู้บริหารโครงการ
                                          • ผู้จัดการฝ่ายบริหาร และฝ่ายต่างๆ ในองค์การ
                                          • นักวิชาการของภาครัฐและเอกชน
                                          • อาชีพอิสระอื่นๆ ด้านการบริหารธุรกิจ

                                          Compare courses

                                          หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

                                          หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

                                          หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

                                                    การเมืองการปกครองเป็นศาสตร์ที่สำคัญต่อการพัฒนาและการจัดการในระดับสังคมและประเทศ หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มุ่งเสริมสร้างทักษะและความรู้เชิงลึกที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และประสิทธิภาพ แลกเปลี่ยนความคิดผ่านการสัมมนาที่หลากหลาย อาทิ สัมมนาเข้มเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิตรัฐศาสตร์ สัมมนาปรัชญาสังคมศาสตร์และการวิเคราะห์การเมืองสมัยใหม่ สัมมนาการสื่อสารทางการเมืองและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสัมมนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของผู้นำยุคใหม่ เพื่อให้คุณพร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคปัจจุบันและเป็นผู้นำที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
                                          คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                                          แบบที่ 1.1 ผู้เข้ารับการศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (ทำเฉพาะดุษฎีนิพนธ์)
                                          1. นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                                          2. มีศักยภาพและความสามารถในระดับสูงเกี่ยวกับการทำวิจัย และมีผลการเรียนในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่าเกียรตินิยมอันดับ 2 และระดับปริญญาโทดีเยี่ยม (คะแนนไม่ต่ำกว่า 3.50)
                                          3. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                                          4. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
                                          5. คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรให้เข้ารับการศึกษา
                                          แบบที่ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
                                          1. นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                                          2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                                          3. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
                                          4. คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรให้เข้ารับการศึกษา
                                          แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
                                          1. นักศึกษาไทยหรือต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลการเรียนในระดับดีมาก (เกียรตินิยมอันดับ 1) และมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด
                                          2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                                          3. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
                                          4. คณะกรรมการประจำหลักสูตรพิจารณาเห็นสมควรให้เข้ารับการศึกษา

                                          ระบบการจัดการศึกษา
                                          1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                                          2. มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของผู้อำนวยการหลักสูตร
                                          3. ระยะเวลาการศึกษา
                                          แบบ 1.1 และ แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปี การศึกษา
                                          แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
                                          4. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
                                          วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                                          วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 17.00 น.
                                          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                                          บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                                          อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                                          โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                                          Email: grad@rsu.ac.th
                                          Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                                          Enrollment Fee

                                          1

                                          Course Duration

                                          8 ปี

                                          Tuition Fee

                                          450,000



                                          Scholarships

                                            Careers

                                            • บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
                                            • ข้าราชการในระดับบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารที่อยู่ในระดับกระทรวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น รวมถึง ข้าราชการทหาร/ตำรวจระดับสัญญาบัตร
                                            • ผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนต่าง ๆ
                                            • ผู้บริหารในองค์การสาธารณะอื่น ๆ ได้แก่ มูลนิธิ สถาบัน รวมถึงองค์การที่ไม่มุ่งหวังกำไร
                                            • นักวิชาการอิสระ

                                            Compare courses

                                            หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ

                                            หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ

                                            หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ

                                                       อุตสาหกรรมกอล์ฟกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในระดับโลก และกลายเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยโอกาสใหม่ๆ สำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มีวิสัยทัศน์และการบริหารที่ดี การบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟจึงต้องการทักษะเฉพาะที่สามารถจัดการและพัฒนาองค์กรในอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมกอล์ฟ ออกแบบมาเพื่อสร้างผู้นำที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านนี้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการบริหารที่ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการสนามกอล์ฟไปจนถึงการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ ยกระดับความรู้และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกอล์ฟสู่ความสำเร็จในระดับใหม่
                                            คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
                                            1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง และมีคุณสมบัติอื่นตามเกณฑ์กำหนดของหลักสูตร
                                            2. ไม่เคยเป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย
                                            3. ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคอื่นซึ่งสังคมรังเกียจ
                                            4. เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต
                                            5. มีทักษะพื้นฐานทางกีฬากอล์ฟ ตามการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

                                            ระบบการจัดการศึกษา
                                            1. ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
                                            2. อาจมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาคการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ หรือตามดุลยพินิจของผู้อำนวยการหลักสูตร
                                            3. หลักสูตรระดับปริญญาเอก 3 ปี
                                            4. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในการเรียนการสอน
                                            วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
                                            วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 18.00 – 20.00 น.
                                            วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
                                            สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                                            บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                                            อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                                            โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                                            Email: grad@rsu.ac.th
                                            Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                                            Enrollment Fee

                                            1

                                            Course Duration

                                            3 ปี

                                            Tuition Fee

                                            720,000



                                            Scholarships

                                              Careers

                                              • ผู้บริหารธุรกิจกอล์ฟ
                                              • นักวิจัยทางด้านกอล์ฟ
                                              • ผู้ประกอบการทางธุรกิจกอล์ฟ
                                              • ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจในอุตสาหกรรมกอล์ฟ

                                              Compare courses

                                              หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Information Technology : English Program

                                              หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Information Technology : English Program

                                              หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Information Technology : English Program


                                              ENTRY REQUIREMENT

                                              Qualifications of the applicants (Thai and Foreigner)
                                              1. Plan 1.1 (Research Track) A graduate of a master's degree in computer science, information technology or related fields with a very good academic record with cumulative GPA of not less than 3.5 out of 4.0 with at journal publication (or consideration of program committee).
                                              2. Plan 2.1 (Coursework and Research) A graduate of a master's degree in computer science, information technology or related fields with a very good academic record with cumulative GPA of not less than 3.0 out of 4.0 or program committee (or consideration of program committee).
                                              3. Plan 2.2 (Coursework and Research) A graduate of a bachalor's degree in computer science, information technology or related fields with a very good academic record with cumulative GPA of not less than 3.0 out of 4.0 (or consideration of program committee).

                                              ระบบการจัดการศึกษา

                                              วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

                                              สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                                              บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                                              อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                                              โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                                              Email: grad@rsu.ac.th
                                              Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                                              Enrollment Fee

                                              1

                                              Course Duration

                                              6 ปี

                                              Tuition Fee

                                              600,000



                                              Scholarships

                                                Careers

                                                • -

                                                Compare courses

                                                หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Communication Arts : English Program

                                                หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Communication Arts : English Program

                                                หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Communication Arts : English Program


                                                ENTRY REQUIREMENT

                                                1. The Applicants must hold a master's degree in any field from an accredited academic institution either in Thailand or another country that has been approved by the Thai Ministry of Education or the Office of the Civil Service Commission.
                                                2. The Applicant must have a good level of English proficiency (TOEFL or IELTS scores) or take the RSU-English Proficiency Placement Test (RSU-EPPT) conducted by the Rangsit English Language institute.

                                                ระบบการจัดการศึกษา

                                                วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

                                                สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                                                บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                                                อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                                                โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                                                Email: grad@rsu.ac.th
                                                Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                                                Enrollment Fee

                                                1

                                                Course Duration

                                                3 ปี

                                                Tuition Fee

                                                6



                                                Scholarships

                                                  Careers

                                                  • -

                                                  Compare courses

                                                  หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Business Administration : English Program

                                                  หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Business Administration : English Program

                                                  หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ) Doctor of Business Administration : English Program


                                                  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา


                                                  ระบบการจัดการศึกษา

                                                  วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

                                                  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                                                  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
                                                  อาคารรัตนคุณากร (ตึก 11) ชั้น 2 ห้อง 206
                                                  โทร. 029972200 ต่อ 4001 – 4005
                                                  Email: grad@rsu.ac.th
                                                  Facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

                                                  Enrollment Fee

                                                  1

                                                  Course Duration

                                                  6 ปี

                                                  Tuition Fee

                                                  864,000



                                                  Scholarships

                                                    Careers

                                                    • -

                                                    Compare courses

                                                    Loading...

                                                    Privacy Policy

                                                    © 2024 RANGSIT UNIVERSITY